ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อก ของ น.ส. สโรชา พวงเขียว ค่ะ

วันพุธที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2559

บทที่7 กฎหมายในชีวิตประจำวัน

 กฎหมายเป็นเกณฑ์ กติกา หรือ มาตรฐานที่ใช้เป็นแนวทางในการอยูาร่วมกันในสังคม เพื่อให้สมาชิกประพฟติปฏิบัติตาม โดยไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากบุคคลอื่น กฎหมายมีสภาพบังคับ นันคือ สมาชิกในสังคมทุกคนจะต้องรู้กฎหมาย ผู้ใดจะอ้างว่าไม่รู้กฎหมายไม่ได้  และจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด แบ่งเป็น 2 ส่วน คือกฎหมายแพ่งลักษณะครอบครัวและกฎหมายเกี่ยวกับชุมชนและประเทศชาติ
    1. กฎหมายแพ่งลักษณะครอบครัว
 กฎหมายที่เกี่ยวกับครอบครัวเป็นกฎหมายที่อยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น การหมั้นและการสมรส
   1.1 การหมั้น หมายถึง การที่ชาย หยิงทำสัญญากันว่าจะทำการสมรสกัน ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา อีกฝ่ายหนึ่งย่อมเรียกค่าทดแทนได้
  •  เงื่อนไขการหมั้น ชายและหญิงที่จะทำการหมั้นกันได้นั้นทั้งชายและหญิงจะต้องมีอายุครบ 17 ปีบริบรูณ์ และต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดา
  •  ของหมั้น ในการหมั้นกันนั้นชายจะมอบของหมั้นให้แก่ฝ่ายหญิงเพื่อเป็นหลักฐานในการหมั้นและเป็นประกันว่าจะทำการสมรสกับหญิง                                      
   1.2) การสมรส
           การสมรส หมายถึง การที่ชายและหญิงสมัครใจเข้ามาอยู่กินกันฉันสามีภรรยา โดยไม่เกี่ยวข้องทางชู้สาวกับบุคคลอื่นใดอีก การสมรสที่สมบรูณ์จะต้องจดทะเบียนสมรสกับพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นนายทะเบียน หากชายและหญิงไม่ยินยอมสมรสกัน การสมรสนั้นเป็น อ่านต่อ

บทที่6 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเป็นกฎหมายลำดับศักดิ์สูงสุดแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายอื่นใดจะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญไม่ได้ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองของประเทศ ซึ่งตั้งแต่ พ.ศ. 2475 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญแล้วทั้งสิ้น 19 ฉบับ อันแสดงให้เห็นถึงความขาดเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557
รัฐธรรมนูญไทยระบุว่าประเทศไทยมีรูปแบบรัฐเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา (เขียนว่า ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) กำหนดให้มีการแบ่งแยกอำนาจระหว่างอำนาจนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับกำหนดให้ผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งและการแต่งตั้งแตกต่างกันไป เช่นเดียวกับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรหลักที่ทำหน้าที่ตีความรัฐธรรมนูญและวินิจฉัยข้อขัดแย้งข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับอ่านต่อ

บทที่5 ระบอบการเมืองการปกครอง



คือ ระบอบการปกครองตนเองของประชาระบอบการเมืองการปกครองชน โดยผ่านการเลือกสมาชิกผู้แทนราษฎรไปบริหารและดูแลเรื่องกฎหมาย เพื่อผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่และโดยการตรวจสอบควบคุมดูแลของประชาชนโดยตรงหรือการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน เช่น การยื่นเสนอหรือแก้ไขกฎหมาย การยื่นถอดถอนนักการเมืองที่ประพฤติมิชอบ การแสดงความคิดในการทำประชาพิจารณ์ การออกเสียงในการทำประชามติ 
          ระบอบประชาธิปไตย ระบอบนี้มีลักษณะเด่นอยู่ที่การแข่งขันอย่างเสรีระหว่างกลุ่มหรือพรรคการเมืองต่างๆ เพียงเพื่อให้ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนส่วนมากในประเทศให้เป็นรัฐบาล ทำหน้าที่บริหารกิจการต่างๆ ของประเทศตามนโยบายที่กลุ่มหรือพรรคนั้นได้วางไว้ล่วงหน้า ลักษณะเด่นดังกล่าวนี้จะดำรงอยู่ได้ตลอดไปถ้ากลุ่มหรือพรรคการเมืองนั้น ๆ ยึดหลักการประชาธิปไตยเป็นหลักในการต่อสู้แข่งขันทางการเมืองการปกครองหลักการของระบอบอ่านต่อ

ลักษณะการเมืองการปกครอง

บทที่4 สิทธิมนุษยชน

สิทธิมนุษยชน (Human Right)  หมายถึง สิทธิที่มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรอง ทั้งความคิดและการกระทำที่ไม่มีการล่วงละเมิดได้ โดยได้รับการ คุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และสนธิสัญญาระหว่างประเทศ
                1.  ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (Human Dignity) หมายถึง คุณสมบัติ จิตใจ สิทธิเฉพาะตัวที่พึงสงวนของมนุษย์ทุกคน และรักษาไว้มิให้บุคคลอื่นมาล่วงละเมิดได้ การถูกละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์จึงเป็นสิ่งที่ต้องได้รับการคุ้มครองและได้รับความยุติธรรมจากรัฐ
                 2.  สาเหตุที่มนุษย์ต้องได้รับความคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เกิดจาก
1. มนุษย์ทุกคนเกิดมาแล้วย่อมมีสิทธิในตัวเอง
2. มนุษย์เป็นสัตว์สังคม
3. มนุษย์มีเกียรติภูมิที่เกิดมาเป็นมนุษย์
4. มนุษย์ทุกคนเกิดมามีฐานะไม่เท่าเทียมกัน
  3.  หลักการสำคัญที่สุดของสิทธิมนุษยชน  คือ มนุษย์ทุกคนมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้รับรองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไว้ และกำหนดให้รัฐบาล ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐดำเนินการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของอ่านต่อ
                

บทที่3 การเป็นพลเมืองดีของชาติเเละสังคมโลก

สาระการเรียนรู้
1.การเคารพกฎหมายและกติกาสังคม
2.การเคารพสิทธิเสรีภาพของตนเองและบุคลอื่น
3.การมีเหตุผล รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
4.การมีความรับผิดชอบต่อตนเอง ชุมชน ประเทศชาติและสังคมโลก
5.การเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองการปกครอง
6.การมีส่วนร่วมในการป้องกัน แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครอง และสิ่งแวดล้อม
7.การมีคุณธรรมจริยธรรมเป็นหลักในการดำเนินชีวิต
แนวคิดหลัก  คุณลักษณะพลเมืองดีของประเทศชาติและสังคมโลกที่สำคัญคือมีคุณธรรมจริยธรรมเป็นหลักในการดำเนินชีวิต หากประเทศชาติและสังคมโลกของเรา มีพลเมืองที่ดีมีคุณลักษณะเช่นนี้ ก็จะก่อให้เกิดอ่านต่อผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การเป็น พลเมืองดีของชาติ และสังคมโลก

บทที่2 เรียนรู้วัฒนธรรม

สาระการเรียนรู้
1.ความหมายและความสำคัญของวัฒนธรรม
2.ลักษณะและความสำคัญของวัฒนธรรมไทย
3.การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและแนวทางอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยที่ดีงาม
4.ความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมไทยกับวัฒนธรรมสากล
5.วิธีการเลือกรับวัฒนธรรมสากล
ความหมายและความสำคัญของวัฒนธรรม
Ø ความหมายของวัฒนธรรม
       วัฒนธรรม หมายถึง แบบแผนการดำเนินชีวิตของมนุษย์ที่มนุษย์สร้างขึ้นในแต่ละสังคม ซึ่งแต่ละสังคมจะต้องมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกันออกไป
       พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ได้นิยามความหมายของวัฒนธรรมไว้ 2 นัย ดังนี้อ่านต่อ

บทที่1 สังคมมนุษย์

สังคมมนุษย์

ประเภทของสัตว์ทางสังคมวิทยา แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
  • สัตว์สังคม เป็นสัตว์ที่อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม เพื่อช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยกันและกัน เช่น ผึ้ง แตน ต่อ ช้าง เป็นต้น
  • สัตว์โลก เป็นสัตว์ที่ดำรงชีวิตอยู่ตามลำพังได้โดยไม่ต้องอยู่รวมกันเป็นกุล่มก็ได้ เช่น จระเข้ แมว สุนัข แรดอ่านต่อ